เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชัน นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. กล่าวปาฐกถาตอนหนึ่งในงานสร้างความคุ้นเคยกับ ทอท. (AOT Familiarization) ประจำปีงบประมาณ 65 รุ่นที่ 1 ว่า ทอท. ได้เตรียมพร้อม เพื่อรองรับช่วงเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมการบินหลังโควิด-19 โดยคาดว่าในปี 66 จะฟื้นตัวอย่างมากจนมีลุ้นกลับมาทำกำไรอีกครั้ง
นายนิตินัย กล่าวต่อว่า คาดว่าในปี 66 ท่าอากาศยานของ ทอท. ทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.), ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.), ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทชม.), ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.), ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.) และท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ทชร.) จะมีตัวเลขผู้โดยสารฟื้นตัวกลับมาที่ราว 2 ใน 3 หรือประมาณ 66% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งมีผู้โดยสารปีละ 140 ล้านคน ดังนั้นจึงเตรียมเปิดให้บริการอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT1) พร้อมระบบอำนวยความสะดวกผู้โดยสารที่ผสมผสานความเป็น Digital Airport มากขึ้นตอบสนองพฤติกรรมเดินทางยุคใหม่
นายนิตินัย กล่าวอีกว่า ในปี 66 จะเป็นยุคเปลี่ยนผ่านของธุรกิจการบิน ทอทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. เพื่อวางรากฐานความมั่งคั่งไปอีกนับทศวรรษ แม้ว่า ทอท. จะแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมการบิน แต่จำเป็นต้องพัฒนาเพื่อแข่งขันในตลาดที่ผู้เล่นหน้าใหม่ และผู้ประกอบการรายเก่าที่เข้มแข็งขึ้นหลังยุคโควิด-19 โดยเฉพาะเมกะเทรนด์ของโลกเรื่องเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกผู้โดยสารด้านการขนส่งทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็น แอพพลิเคชั่นสนามบิน จุดบริการอัตโนมัติ ไปจนถึง หุ่นยนต์สนามบิน ดังนั้นพนักงาน ทอท. จึงต้องปรับตัวในการทำงานให้เข้าสู่รูปแบบดิจิทัลมากขึ้น เพื่อแข่งขันในอุตสาหกรรมการบินยุคใหม่ ควบคู่ไปกับหัวใจบริการ พร้อมดูแลผู้โดยสาร และประชาชนในฐานะรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย
นายนิตินัย กล่าวด้วยว่า เนื่องด้วยภูมิทัศน์ของธุรกิจที่เปลี่ยนไป และมีผู้เล่นหน้าใหม่เกิดขึ้น ทอท. จึงต้องขยายฐานธุรกิจ อาทิ บริษัท AOTTO ดำเนินกิจการศูนย์ตรวจสอบสินค้าเกษตรก่อนส่งออก บริษัท AOTGA หรือบริษัท บริการภาคพื้น ท่าอากาศยานไทย จำกัด ให้บริการด้านกราวด์เซอร์วิส และ บริษัท รักษาความปลอดภัย ท่าอากาศยานไทย จำกัด (AVSEC) ซึ่งสิ่งที่น่ากังวลของธุรกิจการบินขณะนี้คือ ปริมาณซัพพลายอาจไม่เพียงพอตอบสนองปริมาณของผู้โดยสารที่ฟื้นตัว จนอาจกระทบต่อคุณภาพบริการท่าอากาศยาน ทอท. จึงจำเป็นต้องแตกขยายธุรกิจ Non-Aero เพื่อรองรับดีมานด์การเดินทาง และให้ห่วงโซ่อุปทานอยู่รอด อีกทั้งจะเป็นหนึ่งในแกนรายได้หลักในอนาคตอีกด้วย.